การพัฒนาระบบ SCADA (Supervisory Control And Data Acquisition)
ระบบ SCADA ย่อมาจาก Supervisory Control And Data Acquisition เป็นระบบที่ใช้ในการควบคุมการส่งน้ำ, ตรวจวัดปริมาณน้ำในเขื่อน และข้อมูลปริมาณน้ำฝน ของเขื่อนขุนด่านปราการชล โดยใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นตัวควบคุมทั้งหมด ซึ่งจะสามารถทำการควบคุมเขื่อนอัตโนมัติในระบบ Real Time ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง 1 วัน และ 365 วันใน 1 ปี พร้อมทั้งทำการเก็บข้อมูล, ตรวจสอบระบบ, แจ้งเตือน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจัดทำรายงานอัตโนมัตินอกจากนี้ยังสามารถทำการควบคุมการส่งน้ำออกจากเขื่อน , รับทราบข้อมูลปริมาณน้ำและข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยาและสามารถเห็นภาพเหตุการณ์จริงของปริมาณน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชลและการระบายน้ำจริงในแบบ Real Time ได้จากกรมชลประทานสามเสนกรุงเทพ หรือจากทุกแห่ง (Anywhere) และทุกเวลา (Anytime) ได้ซึ่งจะทำให้ส่วนกลางสามารถควบคุมและรับทราบเหตุการณ์สถานการณ์น้ำของเขื่อนขุนด่านปราการชลในระบบ Real Time หรือเวลาจริง โดยมิต้องรอการรายงานจากเขื่อน ทำให้สามารถบริหารงาน, วางแผนและแก้ไข สถานการณ์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ได้ทันท่วงที
1. ระบบ SCADA มีความสามารถดังต่อไปนี้
1.1 Automation Control ควบคุมการส่งน้ำและตรวจวัดปริมาณน้ำในเขื่อนรวมตัวข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยาอัตโนมัติโดยสามารถตั้งโปรแกรมการปฏิบัติงานล่วงหน้าให้ระบบทำงานเอง
1.2 Data Acquisitions เก็บข้อมูล, ประมวลผลข้อมูลและจัดทำรายงานโดยคอมพิวเตอร์ของระบบ SCADA โดยอัตโนมัติ
1.3 Remote Control & Remote Access สามารถทำการควบคุมและรับทราบข้อมูล (Share Data) ได้จากทุกแห่ง (Anywhere) และทุกเวลา (Anytime)
1.4 Self Diagnostic ตรวจสอบความผิดปกติของระบบ SCADA อัตโนมัติ โดยระบบจะทำการตรวจสอบ ระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ของระบบ SCADA ตลอดเวลา เมื่อเกิดความผิดปกติ จะทำการแจ้งเตือน Operator หรือหัวหน้าโครงการอัตโนมัติ ผ่านระบบโทรศัพท์
1.5 Warning & Alarming System การเตือนภัยและแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน เช่น ปริมาณน้ำฝน มีปริมาณมากผิดปกติหรือปริมาณน้ำในเขื่อนสูงกว่าระดับวิกฤตจะทำการแจ้งเตือนไปยัง Operator, หัวหน้าโครงการอัตโนมัติ แม้ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในเวลา กลางคืน ที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ก็ตาม
1.6 Remote Camera System สามารถเห็นภาพปริมาณน้ำในเขื่อนขุนด่านปราการชลและการระบายน้ำทั้งหมดได้จากศูนย์ควบคุมการส่งน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชลได้ในแบบ Real Time
2. ประโยชน์หลักที่ได้รับจากการใช้ระบบ SCADA คือ
2.1 เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยจะทำให้สามารถส่งน้ำออกจากเขื่อน เพื่อใช้ในการเกษตร, อุปโภค – บริโภค และอุตสาหกรรม ได้อย่างประหยัด โดยสามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำตลอด 24 ชั่วโมง ตลอด 365 วัน โดยสามารถทำการควบคุมและรับทราบข้อมูลได้จากระยะไกล
2.2 เพิ่มความปลอดภัยในการจัดการน้ำ โดยระบบ SCADA ทำการตรวจวัดปริมาณน้ำในเขื่อน, ปริมาณน้ำฝน และข้อมูลอุตุ – อุทกวิทยา ในระบบ Real Time และทำการแจ้งเตือนอัตโนมัติ เมื่อสถานการณ์น้ำและปริมาณน้ำฝนมีแนวโน้มว่าไม่ปลอดภัย
2.3 เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการระบบฐานข้อมูล ระบบ SCADA เป็นระบบควบคุมและเก็บข้อมูลอัตโนมัติโดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดของระบบ Information Technology และ Industrial Automation Technology ทำงาน Real Time 24 ชั่วโมง สามารถควบคุม, รับทราบข้อมูลและเห็นภาพเหตุการณ์จริงของปริมาณน้ำในเขื่อนและการส่งน้ำได้จากทุกแห่ง (Anywhere) ทุกเวลา (Anytime)
ระบบ SCADA ซึ่งใช้ในการควบคุมการทำงานของเขื่อนและระบบส่งน้ำใช้เทคโนโลยีสูงและมีใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยได้พิสูจน์การใช้งานแล้วว่าประโยชน์ที่ได้รับคุ้มค่าการลงทุน
ระบบ SCADA ของเขื่อนขุนด่านปราการชล
ระบบ SCADA (Supervisory Control And Data Acquisition) ของเขื่อนขุนด่านปราการชลเป็นระบบที่ใช้
ในการควบคุมการส่งน้ำโดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมผ่านอุปกรณ์ Programmable Logic Controller (PLC) และใช้สายนำสัญญาณแบบเคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นระบบหลักและมีตัว Wireless เป็นระบบสำรอง ตัวเชื่อมสัญญาณการควบคุมจากศูนย์ควบคุมการส่งน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชล ไปยังห้องควบคุมประตูระบายน้ำ ของเขื่อนขุนด่านปราการชล ในแบบ Remote Control เพื่อควบคุมการปิด - เปิดบานประตูระบายน้ำ, วัดปริมาณน้ำในเขื่อน, ปริมาณน้ำที่ระบาย, ปริมาณน้ำฝน, ตรวจสอบระบบ, เก็บข้อมูล, จัดทำรายงานและแจ้งเตือนเมื่อเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งยังสามารถเห็นภาพเหตุการณ์จริงของปริมาณน้ำในเขื่อนขุนด่านปราการชลและการระบายน้ำทั้งหมดได้ โดยการทำงานทั้งหมดจะทำงานแบบ Real Time
3. ความสามารถของระบบ SCADA
3.1 ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ระบบ SCADA จะควบคุมการทำงานของการปิด-เปิดบานประตูน้ำ, วาล์ว ต่างๆ, ระบบไฮโดรลิค และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองอัตโนมัติได้
3.2 เก็บข้อมูล (Data Acquisitions) ระบบ SCADA จะเก็บข้อมูลการควบคุมและการตรวจวัดเข้าระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ โดยจะเก็บข้อมูลปริมาณน้ำที่ส่งออก, ปริมาณน้ำเก็บกักในเขื่อน, ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน, ปริมาณน้ำฝน, การควบคุมการปิด - เปิดบาน, การแจ้งเตือนเมื่อระบบขัดข้อง และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ โดยข้อมูลต่างๆ จะเก็บอยู่ใน Server ของระบบ SCADA
3.3 แจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน (Alarming and Warning) ระบบ SCADA จะทำการแจ้งเตือนผู้ควบคุมระบบ Operator เมื่อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ขัดข้อง หรือเกิดเหตุฉุกเฉินที่ Operator ตั้งค่าไว้ เช่น ปริมาณน้ำในลำน้ำสูงกว่าระดับวิกฤต, ปริมาณฝน มีความเข้มสูงผิดปกติ โดยสามารถแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือ
3.4 การจัดทำรายงาน (Reporting) ระบบ SCADA สามารถจัดทำรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น รายงานการส่งน้ำ, รายงานสภาพน้ำในเขื่อน, โดยสามารถสั่งให้พิมพ์ข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนดได้
3.5 การเข้าถึงข้อมูลจากระยะไกล (Remote Access) สามารถเข้าถึงข้อมูลของระบบ SCADA ได้จากภายนอก เช่น จากกรมชลประทานสาม โดยผ่านระบบ Internet ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของเขื่อนขุนด่านปราการชลได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ในห้องควบคุมหลัก สามารถรับทราบข้อมูลสำคัญของเขื่อนขุนด่านปราการชลในแบบเวลาจริง (Real Time)
3.6 Remote Control & Remote Access สามารถทำการควบคุมและรับทราบข้อมูล (Anywhere) ได้จากทุกแห่ง (Anytime) และทุกเวลา นอกจากนี้ระบบ SCADA ยังสามารถพัฒนาให้สามารถใช้งานใน Application อื่นโดยการเชื่อมต่อระบบ SCADA ให้สามารถ Control หรือ เชื่อมข้อมูลกับระบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
3.7 ระบบ Dan Instrument ของงาน Dam Safety
โดยเชื่อมข้อมูลการตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนในกรณีของเขื่อนขุนด่านปราการชล ข้อมูลจากเครื่องมือวัด เช่น Piezometer, Earth Pressure Cell, Seismometer และ ฯลฯ ซึ่งต้องเป็นระบบสัญญาณไฟฟ้า โดยเชื่อมเข้าสู่ระบบ SCADA โดยจะจัดเก็บข้อมูล Dam Safety อัตโนมัติในแบบ Real Time
3.8 ระบบ Real Time Internet Data System
โดยส่งข้อมูลของระบบ SCADA ที่เปิดเผยได้ เข้าสู่ระบบ Internet ในแบบ Real Time เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถรับทราบข้อมูลทั้งหมดในแบบ Real Time ซึ่งสะดวกและประหยัดที่สุด
3.9 ระบบโทรมาตร
โดยการติดตั้งสถานีวัดตามลำน้ำ และน้ำฝนอัตโนมัติตามจุดต่างๆ ของพื้นที่รับน้ำของเขื่อน และในพื้นที่ส่งน้ำ ตามความเหมาะสมมายังศูนย์ควบคุมการส่งน้ำของเขื่อนขุนด่านปราการชล